พันธกิจบ้านธารพระพร ขอบคุณท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม หากมีข้อแนะนำหรือมีภาระใจต้องการมีส่วนร่วมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้ยากไร้ ร่วมบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน ทำกิจกรรม โครงการดี ๆสามารถติดต่อกับเราได้ที่เมนูเว็บฯ "ติดต่อเรา" ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

" ถึงเวลาลุย 2018 "

                                             ถึงเวลาลุย " ธารน้ำใจสู่ดอยสูง 2018 " 
15-23 มิถุนายน 2018 ณ พันธกิจบ้านธารพระพร 15/3 หมู่ 7 บ้านหนองตอง ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน



กิ่วลม


พันธกิจบ้านธารพระพร ห่างจากตลาด 200 เมตร เลี้ยวซ้ายขึ้นดอยทางขึ้นบ้านหนองตอง 200 เมตร โดยประมาณ สามารถถามผู้คนที่ผ่านไปมาได้ครับผม



วันที่เรารอคอย วันที่เราตั้งจิตตั้งใจอธิษฐานกับพระเจ้าก็มาถึง เรียนเชิญพี่น้องผองเพื่อนร่วมกันฝึกฝนของประทานในการปรนนิบัติ การรักษาโรค การขับผี และการอัศจรรย์อื่นๆมากมายได้กับทีมงาน " พันธกิจบ้านธารพระพร " สิ่งที่เราจะร่วมกันทำภายในค่ายครั้งนี้ 1. ฝึกฝนชีวิตและของประทานร่วมกัน ประกาศข่าวประเสริฐแบบชิวๆ

2. เสียสละความสุข ทรัพย์ สิ่งของ เพื่อผู้พิการที่ยากไร้ และคนที่ยากไร้บนดอยสูง 3. ท่องเที่ยวไปกับทีมงานในหุบเขา สัมผัสชีิวิตบนดอยของชนเผ่าต่างๆ เรียนรู้ อาหาร ภาษา การแต่งกาย ค่านิยม อื่นๆ


ลีซอ หรือลีซู ชนเผ่าที่มีเยอะที่สุดในอำเภอปางมะผ้า ส่วนใหญ่อยู่ในตำบลสบป่อง ซึ่งก็มีกำนันเป็นชาวลีซูด้วย ยังคงยืนหยัดรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชนเผ่าไว้เป็นอย่างดี ซึ่งมีการประสานงานไปในส่วนภาครัฐที่จะช่วยให้มีการจัดตั้งเป็นสมาพันธ์ลีซูแห่งประเทศไทยด้วย ปัจจุบัน ค่านิยมและความเจริญของสังคม ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงคนลีซูมาก การประกอบอาชีพก็กลายเป็นธุระกิจเพื่อการค้ามากกว่าที่จะกินกันภายในครอบครัวปีต่อปีเหมือนรุ่นปู่ย่าตายาย ศาสนาผี บูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับและรูปเคารพอื่นๆ ลูกหลานมีการศึกษาก็เข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ ส่วนน้อนนักที่กลับมาทำงานในพื้นที่



ลาหู่  ชนเผ่านี้มีมาก รองลงมาในเขตอำเภอปางมะผ้า ส่วนมากจะเป็นลาหู่แดง ( ชะแลง ) ผสมกันไปตามหมู่บ้านต่างๆ เป็นเผ่าที่เคร่งครัดในการรักษาการแต่งกาย ภาษา ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม อาหาร อัธยาศัยดี เริ่มมีคนในเผ่าที่มีการศึกษาสูงมากขึ้น บ้างก็กลับมาพัฒนาชนเผ่าและหมู่บ้านของตน หลายคนก็ประสบความสำเร็จ แต่หลายคนก็ล้มเหลวเพราะคนมีอิทธิพล คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ก็เลยเข้าตัวเมืองเชียงใหม่และทั่วประเทศเพื่อหางานทำและส่งเงินกลับบ้าน ทั้งลาหู่และลีซู มีตำนานว่าเป็นพี่น้องกัน ( ว่ากันว่าครับผม )



กระเหรี่ยง เผ่านี้มีน้อยหมู่บ้านนัก และส่วนใหญ่ก็อยู่ใกล้ๆลำธาร อาชีพทำไร่ นาขั้นบรรได เป็นชนเผ่านักอนุรักษ์ ไม่ค่อยถางป่า ไม่ทำไร่เลื่อนลอย เลี้ยงหมู ไก่ และจับปลาในห้วยเป็นอาหาร อาหารส่วนมากเป็นน้ำพริกกับผักสดๆ รักษาขนบประเพณีและวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ภาษา อัธยาศัยต่อผู้มาเยือนดีเยี่ยมเช่นกัน ลูกหลานมีการศึกษาหลายคนทำงานราชการ และกลับมาพัฒนาหมู่บ้านบ้าง 




ไทยใหญ่ ( ไทใหญ่ ) ปางมะผ้ามีตะเข็บชายแดนระหว่างไทยและพม่า ที่ตะเข็บชายแดนเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าไทใหญ่ หรือที่เขาเรียกว่ารัฐไทใหญ่ สามารถไปมาหาสู่ได้ ผู้นำไทใหญ่ก็เป็นพันธมิตรกับไทย เปิดชายแดนให้สามารถเข้าออกได้และรับความช่วยเหลือจากไทย ซึ่งต้องยอมรับว่า แม่ฮ่องสอนทั้งจังหวัด มีชาวไทใหญ่มากที่สุด แม้ในปางมะผ้าจะสู้ชนเผ่าจำนวนต่างๆไม่ได้ ภาษากลางส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทใหญ่ ชาวไทยเผ่าอื่นๆก็พูดได้เกือบทุกคน ไทใหญ่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น ศาสนาพุทธ อาชีพส่วนใหญ่ ทำไร่ รับจ้าง ปศุสัตว์ต่างๆ ลูกหลานมีการศึกษาส่วนใหญ่ไปหางานที่เมืองใหญ่และส่งกลับมาบ้าน



ม้ง หรือแม้ว รูปนี่ไม่ใช่ปางมะผ้า แต่ก็เห็นว่าน่ารักดีก็เลยลงมาเอ่ยกันนิดหนึ่ง เป็นเผ่าที่มีน้อยมาก อาศัยอยู่ใกล้ลำห้วย บ้านแม่รางจันทร์ หน้าโรงพยาบาลปางมะผ้า ไม่น่าเกิน 30 หลังคา และที่บ้านไร่บ้าง อาชีพทำไร่ สวนผัก ค้าขาย ส่วนใหญ่แล้วเปลี่ยนศาสนาผีมาเป็นคริสต์แล้ว มีภาษา อาหาร ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่ยังคงไว้ซึ่งความเหมือนเดิม ลูกหลานมีการศึกษาส่วนใหญ่ก็เข้าไปหางานที่เมืองใหญ่ ส่วนน้อยก็ช่วยงานพ่อแม่ในครอบครัว





ละว้า เป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีจำนวนน้อยด้วย บ้านห้วยน้ำโป่ง เป็นหมู่บ้านชนเผ่านี้โดยเฉพาะ มาหลังๆมานี้ก็มีการผสมผสานหลายชนเผ่าเลย ประมาณ 30 หลังคาเรือน เป็นศาสนาคริสต์ทั้งหมู่บ้าน ผู้นำเข้มแข็ง เคยเป็นหมู่บ้านที่พระเทพฯเคยเสด็จมาเยือนและให้การช่วยเหลือ ปลอดยาเสพติด อาชีพทำไร่ ทำสวน รับจ้าง และค้าขาย ลูกหลานมีการศึกษาส่วนใหญ่เข้าทำงานในเมืองใหญ่ ส่วนน้อยยังคงทำงานบนดอยช่วยครอบครัว







ตลาดปางมะผ้า วางขายตามถนนคนเดินมาจากสวนสดๆ ส่วนที่จอดรถและทำห้างขายข้างทางส่วนมากมาจากที่อื่น ราคาไม่เหมือนกัน คุณภาพต่างกัน วันตลาดนัดคือวันอังคาร ตลาดนัดเป็นจุดศูนย์รวมคนทุกเผ่าในพื้นที่ๆจะออกมาจับจ่ายตลาด หรือเอาของป่าของดอยมาวางขาย ส่วนร้านค้าตามไหล่ทางบางทีก็เป็นของคนจากที่อื่น น้อยนักที่เป็นร้านของคนในพื้นที่ การแข่งขันจึงเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้





โรงพยาบาลปางมะผ้า อยู่ห่างจากตลาดประมาณ 700 เมตร โดยปรมาณ มีหมอ พยาบาล และเครื่องมือแพทย์พอสมควร ประชากรในพื้นที่โดยเฉลี่ย 20,000 คน ซึ่งได้มีการก่อสร้างตัวอาคารเพิ่มเติมเมื่อต้นปี 2016 สามารถรับคนป่วยทั้งในและนอกได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ๆกับตะเข็บชายแดน จึงมีคนไทใหญ่ในพม่าถูกส่งตัวเข้ามารักษาที่นี่ประจำ ทางโรงพยาบาลจะส่งตัวไปโรงพยาบาลใหญ่ที่อำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน กรณีเครื่องมือแพทย์ไม่ครบ หรือไม่มีแพทย์เฉพาะทางรักษา ส่งไปที่เชียงใหม่ด้วย ผมเองก็เคยเป็นคนไข้ประจำของโรงพยาบาลแห่งนี้เกือบ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2004-2012 และทำงานเป็นพันธมิตรช่วยเหลือคนพิการและยากไร้ในพื้นที่ร่วมกัน



ที่ว่าการอำเภอปางมะผ้า ห่างจากตัวตลาดปางมะผ้าประมาณ 600 เมตร โดยประมาณ ตั้งอยู่ติดกับโรงพยาบาลทางซ้าย และทางขวาก็ติดอยู่กับสถานีตำรวจอำเภอปางมะผ้า มีการทำงานอย่างมีระบบ ที่ผ่านมาอาจมีการทำผิดกฏหมายของผู้มีอำนาจ แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนผ่านผู้มีอำนาจมาหลายปีแล้ว กำลังพัฒนาให้กลายเป็นอำเภอที่เป็นแบบในการทำงานของรัฐจริงๆ ผมเห็นเจ้าพนักงานที่มีการผสมผสานของชนเผ่า เข้าใจความยากง่ายในการทำเอกสารให้กับกลุ่มคนชนเผ่าเป็นอย่างดี จึงมักจะนำมาซึ่งความผิดพลาด แต่ก็ต้องยอมรับในเรื่องของการทำผิดโดยตั้งใจเพื่อผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจแค่คนเดียว ทำให้เกิดความเสียหายทั้งอำเภอ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีคอมพวเตอร์ ที่สามารถหาข้อมูลได้ทั่วทุกจังหวัดแบบก้าวกระโดดในการทำเอกสาร และไม่สามารถหาผลประโยชน์ได้อีกต่อไป ยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง อาจเป็นเพราะการสื่อสาร ภาษา จึงทำให้เอกสารบกพร่องแก้ยากลำบาก นี่คือปัญหาของชนเผ่าจริงๆ



สถานีตำรวจปางมะผ้า ห่างจากตลาดปางมะผ้า 500 เมตร โดยประมาณ ที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนชนเผ่าต่างๆในพื้นที่ ไม่ค่อยมีใครกล้ามีปัญหากับตำรวจ ฉะนั้นตำรวจที่นี่ใหญ่มากๆ แค่ไม่กี่คนก็เอาอยู่ ปัญหายาเสพติดก็มีบ้าง ส่วนใหญ่ให้ตำรวจนอกพื้นที่มาจัดการ เรื่องขี้หมูรา ขี้หมาแห้งก็ตำรวจในพื้นที่ ตำรวจที่อยู่ส่วนใหญ่ก็แต่งงานกับคนในพื้นที่ และสร้างฐานครอบครัวอยู่ที่นี่เลย บางคนก็ย้ายไปย้ายมา ใครไม่ทำงานจริงก็อยู่ยาก มีเรื่องที่ไหนตำรวจไปไม่ค่อยทัน คนร้ายรู้ตัวก่อนเสมอ แต่ไม่ค่อยมีเรื่องมากมาย ผมและครอบครัว ได้รับการบริการจากตำรวจที่นี่เสมอ บางทีก็ไปเยี่ยมสมาชิกในหมู่บ้านที่ถูกจับ หรือไปช่วยไกล่เกี่ยปัญหาต่างๆของคนที่เรารู้จัก บางครั้งภรรยาผมก็ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับตำรวจด้วย ตำรวจเป็นพันธมิตรกับพันธกิจบ้านธารพระพรครับผม




โรงเรียนปางมะผ้าวิทยาสรรพ์ ห่างจากตลาดปางมะผ้า 400 เมตร โดยประมาณ ต่อจากสถานีตำรวจนั่นเอง สถานที่ราชกาลดังกล่าวข้างต้นอยู่ติดๆกันเลย ห่างกันไม่มาก เพราะไม่มีสถานที่พื้นราบมากนัก จึงต้องจัดตั้งติดๆกัน เป็นโรงเรียนมัธยมต้นจนถึงมัธยมปลาย มีนักเรียนประมาณ 300 คน ซึ่งก็เป็นเด็กนักเรียนที่เรียนจบประถมจากพื้นที่มา ด้านซ้ายติดสถานนีตำรวจ ด้านขวาก็ติดแม่น้ำรางจันทร์ และสะพานข้าม ระบบการศึกษายังอ่อนมากหากเทียบกับในเมือง แต่ก็พัฒนากว่าเมื่อก่อนมากๆ

อำเภอปางมะผ้า มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย รีสอร์ท และเกสเฮ้าท์ก็มีเยอะ หลายระดับ ของซื้อของฝากก็มีเยอะมาก หากใครอยากมาร่วมทีมประกาศข่าวประเสริฐและช่วยเหลือคนพิการที่ยากไร้ ก็ติดต่อกันมาได้เลยนะครับผม ขอบคุณมาก ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรครับผม.